วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อย่าคาดหวัง

โดย: อารัยฮิ

หลังจากเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 20 ปี ของพม่าสิ้นสุดลงและผลการเลือกตั้งก็เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าพรรคการเมืองที่ชนะในการเลือก/ลากตั้ง ครั้งนี้ก็คือพรรค United Solidarity Development Party หรือ USDP ของรัฐบาลทหารพม่าทั้งยังได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลาย ซึ่งก็เป็นไปตามความคาดการณ์ของนักวิเคราะห์รวมทั้งผู้ติดตามโดยทั่วไปอยู่แล้วกับผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งนอกเหนือจากผลการเลือกตั้ง(ที่มันก็รู้อยู่แล้วว่าจะออกมาเป็นอย่างไร)ก็คือปฎิกริยาหลังจากการเลือกตั้งระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับกลุ่มกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธ หรือ DKBA ที่ได้เกิดการสู้รบกันขึ้นอย่างรุนแรงที่เมืองเมียวดีติดกับชายแดนของประเทศไทย

จากเหตุการณ์ปะทะที่เกิดขึ้นผลได้ฟังนักวิเคราะห์หลายท่านพูดจึงฟังพอที่ผมจะสรุปได้ว่าเหตุการสู้รบกันดังกล่าวเกิดขึ้นจากรัฐบาลทหารพม่าต้องการให้กลุ่ม
กะเหรี่ยง DKBA (ซึ่งเคยประกาศยุติสงครามกับรัฐบาลทหารพม่า) แปรเปลี่ยนจากกองกำลังติดอาวุธของตนเองเป็นกองกำลังรักษาชายแดน (Border Guard Force) ภายใต้รัฐบาลพม่าแต่กลุ่มกะเหรี่ยง DKBA ไม่ยอม และยิ่งในช่วงเลือกตั้งทหารพม่ายังได้มาข่มขู่บังคับพวกเขาให้ไปเลือกพรรคของรัฐบาลทหารอีกทำให้เกิดความไม่พอใจมากขึ้น

จากเหตุการณ์ปะทะที่เกิดขึ้นผลได้ฟังนักวิเคราะห์หลายท่านพูดจึงฟังพอที่ผมจะสรุปได้ว่าเหตุการสู้รบกันดังกล่าวเกิดขึ้นจากรัฐบาลทหารพม่าต้องการให้กลุ่ม
กะเหรี่ยง DKBA (ซึ่งเคยประกาศยุติสงครามกับรัฐบาลทหารพม่า) แปรเปลี่ยนจากกองกำลังติดอาวุธของตนเองเป็นกองกำลังรักษาชายแดน (Border Guard Force) ภายใต้รัฐบาลพม่าแต่กลุ่มกะเหรี่ยง DKBA ไม่ยอม และยิ่งในช่วงเลือกตั้งทหารพม่ายังได้มาข่มขู่บังคับพวกเขาให้ไปเลือกพรรคของรัฐบาลทหารอีกทำให้เกิดความไม่พอใจมากขึ้น

ผลจากการปะทะกันดังกล่าวจะเห็นได้ว่าส่งผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงได้กับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านกับพม่าและใกล้กับฐานที่ตั้งของกลุ่มกะเหรี่ยง DKBA ด้วยเหตุนี้เมื่อมีการปะทะกันเกิดขึ้นของกลุ่มทหารพม่าและกลุ่มกะเหรี่ยงพุทธ ทำให้มีผู้อพยพจากการปะทะหนีเข้ามายังฝั่งของประเทศไทยเป็นจำนวนหลายหมื่นคน ส่วนมากก็เป็น “เด็ก สตรี และคนชรา” และสิ่งที่ทางเจ้าหน้าที่ของไทยทำคือเข้าไปช่วยดูแลเรื่องต่างๆ ตามหลักสิทธิมนุษยชนแล้วจึงผลักดันผู้อพยพกลับไปยังพม่าอีกหลายรอบทั้งๆ ที่ยังมีการปะทะกันอย่างรุนแรงในพื้นที่ หรือแม้ได้ยินเสียงปืนก็ตามแต่ก็พยายามจะผลักดันให้ผู้อพยพก็ไปยังพม่า

ผลจากการปะทะกันดังกล่าวจะเห็นได้ว่าส่งผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงได้กับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านกับพม่าและใกล้กับฐานที่ตั้งของกลุ่มกะเหรี่ยง DKBA ด้วยเหตุนี้เมื่อมีการปะทะกันเกิดขึ้นของกลุ่มทหารพม่าและกลุ่มกะเหรี่ยงพุทธ ทำให้มีผู้อพยพจากการปะทะหนีเข้ามายังฝั่งของประเทศไทยเป็นจำนวนหลายหมื่นคน ส่วนมากก็เป็น “เด็ก สตรี และคนชรา” และสิ่งที่ทางเจ้าหน้าที่ของไทยทำคือเข้าไปช่วยดูแลเรื่องต่างๆ ตามหลักสิทธิมนุษยชนแล้วจึงผลักดันผู้อพยพกลับไปยังพม่าอีกหลายรอบทั้งๆ ที่ยังมีการปะทะกันอย่างรุนแรงในพื้นที่ หรือแม้ได้ยินเสียงปืนก็ตามแต่ก็พยายามจะผลักดันให้ผู้อพยพก็ไปยังพม่า

ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องจากกลุ่มองค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศต่อกรณีของการส่งผู้ลี้ภัยกับประเทศของรัฐบาลไทยทั้งๆ ที่ยังมีการปะทะกันอยู่ในพื้นที่ และต่อมาได้มีแถลงการณ์ออกมาจาก “ศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน” โดยมีการเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยให้ระมัดระวังในการส่งกลับผู้ลี้ภัยเนื่องจากการสู้รบอยู่ จนกว่าจะมีผลการตรวจสอบด้วยการมีส่วนร่วมประเมินสถานการณ์ของ สำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและตัวแทนผู้ลี้ภัยว่าผู้ที่กลับไปจะปลอดภัย ทั้งดูแลผู้ลี้ภัยให้ได้เข้าถึงความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมอย่างสมควร และการทบทวนนโยบายเรื่องการส่งกลับผู้ลี้ภัย ด้วยการมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง (ดูฉบับเต็มที่
http://prachatai.com/journal/2010/11/31867)

ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องจากกลุ่มองค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศต่อกรณีของการส่งผู้ลี้ภัยกับประเทศของรัฐบาลไทยทั้งๆ ที่ยังมีการปะทะกันอยู่ในพื้นที่ และต่อมาได้มีแถลงการณ์ออกมาจาก “ศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน” โดยมีการเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยให้ระมัดระวังในการส่งกลับผู้ลี้ภัยเนื่องจากการสู้รบอยู่ จนกว่าจะมีผลการตรวจสอบด้วยการมีส่วนร่วมประเมินสถานการณ์ของ สำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและตัวแทนผู้ลี้ภัยว่าผู้ที่กลับไปจะปลอดภัย ทั้งดูแลผู้ลี้ภัยให้ได้เข้าถึงความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมอย่างสมควร และการทบทวนนโยบายเรื่องการส่งกลับผู้ลี้ภัย ด้วยการมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง (ดูฉบับเต็มที่
http://prachatai.com/journal/2010/11/31867)

ข้อเรียกร้องต่างๆ จากการกระทำดังกล่าวของประเทศไทยในความคิดของผมทำให้ไทยดูจะเสียภาพพจน์ไปบ้างในสายชาวโลกที่ติดตามสถานการณ์ของพม่า เพราะการผลักดันผู้ลี้ภัยข้ามแดนทั้งที่ยังมีการสู้รบปรบมือกันอยู่นั้นดูจะเป็นความไร้มนุษยธรรมอย่างยิ่งของรัฐบาลไทย นั้นอาจเพราะรัฐบาลไทยเป็นห่วงเพียงแค่ผลโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับจากรัฐบาลทหารพม่ามากกว่าความเป็นมนุษย์ด้วยกันของชาวกะเหรี่ยงที่เดือดร้อนจากภัยสงครามและการถูกกดขี่ของระบอบการเมืองที่ไม่ชอบธรรมภายในประเทศของเขา ซึ่งพวกเขาต้องการที่พึ่งและประเทศไทยก็คือความหวังและความคาดหวังของชนกลุ่มน้อยและประชาคมโลก
ข้อเรียกร้องต่างๆ จากการกระทำดังกล่าวของประเทศไทยในความคิดของผมทำให้ไทยดูจะเสียภาพพจน์ไปบ้างในสายชาวโลกที่ติดตามสถานการณ์ของพม่า เพราะการผลักดันผู้ลี้ภัยข้ามแดนทั้งที่ยังมีการสู้รบปรบมือกันอยู่นั้นดูจะเป็นความไร้มนุษยธรรมอย่างยิ่งของรัฐบาลไทย นั้นอาจเพราะรัฐบาลไทยเป็นห่วงเพียงแค่ผลโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับจากรัฐบาลทหารพม่ามากกว่าความเป็นมนุษย์ด้วยกันของชาวกะเหรี่ยงที่เดือดร้อนจากภัยสงครามและการถูกกดขี่ของระบอบการเมืองที่ไม่ชอบธรรมภายในประเทศของเขา ซึ่งพวกเขาต้องการที่พึ่งและประเทศไทยก็คือความหวังและความคาดหวังของชนกลุ่มน้อยและประชาคมโลก

จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ผมมีความรู้สึกว่าประเทศไทยถูกคาดหวังจากองค์กรและภาคส่วนต่างๆ จากทั่วโลกอาจจะเนื่องด้วยเพราะประเทศไทยมีพรมแดนที่ติดกับประเทศพม่าและความที่ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยหรือจะเหตุผลอื่นใดก็ตาม ทำให้รัฐบาลไทยจึงถูกคาดหวังจากประชาคมโลกอย่างมาก ทั้งเรื่องการช่วยเหลือผู้อพยพลี้ภัยจากการปะทะกันระหว่างทหารพม่ากับชนกลุ่มน้อย การช่วยพม่าในกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยและการต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลทหารพม่า จากปัญหาต่างๆ ที่เกิดนั้นได้ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นที่จับจ้องจากทั่วโลกและเป็นศูนย์กลางของความคาดหวังจากกลุ่มต่างๆ ทั่วโลกในการพัฒนาประชาธิปไตย คุณภาพชีวิต และสิทธิมนุษยชน

แต่สิ่งที่ประชาคมโลกคาดหวังนั้นผมคิดว่าคงไม่สามารถคาดหวังได้กับรัฐบาลไทยชุดปัจจุบัน เพราะผมคิดว่ารัฐบาลภายใต้การนำของประชาธิปัตย์ไม่สามารถที่จะตอบสนองคาดหวังอะไรต่างๆ ที่ว่าได้เนื่องจากสิ่งที่เรากำลังคาดหวังอยู่นั้นรัฐบาลไทยปัจจุบันก็ยังไม่สามารถที่จะนำตัวเองออกจากข้อกล่าวต่างๆ ได้เลยแม้แต่ข้อเดียว รัฐบาลไทยปัจจุบันคงไม่กล้าที่จะแนะนำพม่าเกี่ยวกับประชาธิปไตยเพราะรัฐบาลไทยปัจจุบันก็จัดตั้งมาจากทหารเช่นกันกับพม่า รัฐบาลไทยคงไม่กล้าบอกให้ทหารพม่าปล่อยนางออง ซาน ซูจี และนักโทษการเมือง เพราะพวกเราเองก็ยังขังนักโทษการเมืองไม่ต่างจากทหารพม่า รัฐบาลไทยคงไม่วิจารณ์เรื่องสิทธิมนุษยชนและการที่ทหารพม่ากวาดล้างชนกลุ่มน้อยเพราะที่ราชประสงค์พวกเขายังทำกับประชาชนที่ไม่เห็นด้วยเหมือนที่พม่าทำกับชนกลุ่มน้อย รัฐบาลไทยคงไม่กล้าบอกให้รัฐบาลพม่าจัดการเลือกตั้งที่เสรีเพราะพวกเขาก็ประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จำกัดเสรีภาพของประชาชนในประเทศตนเองและปิดสื่อบล็อกเว็บไซต์เป็นว่าเล่น

แต่สิ่งที่ประชาคมโลกคาดหวังนั้นผมคิดว่าคงไม่สามารถคาดหวังได้กับรัฐบาลไทยชุดปัจจุบัน เพราะผมคิดว่ารัฐบาลภายใต้การนำของประชาธิปัตย์ไม่สามารถที่จะตอบสนองคาดหวังอะไรต่างๆ ที่ว่าได้เนื่องจากสิ่งที่เรากำลังคาดหวังอยู่นั้นรัฐบาลไทยปัจจุบันก็ยังไม่สามารถที่จะนำตัวเองออกจากข้อกล่าวต่างๆ ได้เลยแม้แต่ข้อเดียว รัฐบาลไทยปัจจุบันคงไม่กล้าที่จะแนะนำพม่าเกี่ยวกับประชาธิปไตยเพราะรัฐบาลไทยปัจจุบันก็จัดตั้งมาจากทหารเช่นกันกับพม่า รัฐบาลไทยคงไม่กล้าบอกให้ทหารพม่าปล่อยนางออง ซาน ซูจี และนักโทษการเมือง เพราะพวกเราเองก็ยังขังนักโทษการเมืองไม่ต่างจากทหารพม่า รัฐบาลไทยคงไม่วิจารณ์เรื่องสิทธิมนุษยชนและการที่ทหารพม่ากวาดล้างชนกลุ่มน้อยเพราะที่ราชประสงค์พวกเขายังทำกับประชาชนที่ไม่เห็นด้วยเหมือนที่พม่าทำกับชนกลุ่มน้อย รัฐบาลไทยคงไม่กล้าบอกให้รัฐบาลพม่าจัดการเลือกตั้งที่เสรีเพราะพวกเขาก็ประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จำกัดเสรีภาพของประชาชนในประเทศตนเองและปิดสื่อบล็อกเว็บไซต์เป็นว่าเล่น

ผมไม่ได้ต้องการจะกล่าวหาหรือให้ร้ายรัฐบาลแต่อย่างใดแต่รัฐบาลไทยได้พิสูจน์ให้เห็นจากการผลักดันให้ผู้ลี้ภัยเข้าไปในพื้นที่ที่ยังมีการต่อสู้กันอยู่ ผมไม่ทราบว่าเพราะเหตุใด แต่คนที่ถูกส่งกลับนั้นคือ “เด็ก สตรี และคนชรา” และนั้นคือการส่งพวกเขาไปตาย และนี่ไม่ใช่การกระทำครั้งแรกของรัฐบาลไทยชุดปัจจุบันเพราะแม้แต่คนในประเทศเดียวกันรัฐบาลชุดปัจจุบันกันทำมาแล้ว ดังนั้นจึงไม่แตกต่างกันเท่าไหร่จะต่างกันก็ตรงที่ “ส่งให้ฆ่ากับฆ่ากับมือ” เท่านั้น

ผมไม่ได้ต้องการจะกล่าวหาหรือให้ร้ายรัฐบาลแต่อย่างใดแต่รัฐบาลไทยได้พิสูจน์ให้เห็นจากการผลักดันให้ผู้ลี้ภัยเข้าไปในพื้นที่ที่ยังมีการต่อสู้กันอยู่ ผมไม่ทราบว่าเพราะเหตุใด แต่คนที่ถูกส่งกลับนั้นคือ “เด็ก สตรี และคนชรา” และนั้นคือการส่งพวกเขาไปตาย และนี่ไม่ใช่การกระทำครั้งแรกของรัฐบาลไทยชุดปัจจุบันเพราะแม้แต่คนในประเทศเดียวกันรัฐบาลชุดปัจจุบันกันทำมาแล้ว ดังนั้นจึงไม่แตกต่างกันเท่าไหร่จะต่างกันก็ตรงที่ “ส่งให้ฆ่ากับฆ่ากับมือ” เท่านั้น

ดังนั้นผมคิดว่าชาวพม่า ชาวไทย และชาวโลก “อย่าคาดหวังอะไรกับรัฐบาลไทย อย่าคาดหวังอะไรจากรัฐบาลของประเทศในอาเซียนเพราะพวกเขาไม่เคยเห็นประชาชนเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนประชาคมเลย”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น